top of page
Search

ใครว่า " Work from Home " แล้วจะไม่เป็น " Office Syndrome "

Updated: Sep 30, 2021




Office Syndrome หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดขึ้นจากการทำงานในออฟฟิศโดยมีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะการนั่ง ส่งผลต่อการเกิดอาการปวดได้หลายจุด เช่น บ่า คอ ไหล่ หรือหลัง และมักจะเป็นเรื้อรัง


หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตไปสู่ “new normal” ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 คือ การเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานจากออฟฟิศเป็นที่บ้าน หรือ “work from home (WFH)” ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาที่หลายคนไม่คาดคิด คือ อาการปวดต่างๆ ที่ตนเองคิดว่า WFH แล้ว อาการปวดต่าง น่าจะดีขึ้น แต่กลับพบว่า อาการ “office syndrome” กลับมาเป็นอีก หรือแย่ลงกว่าเดิม

หรือในคนที่ไม่เคยปวดมาก่อนเลยก็อาจจะเริ่มมีอาการได้ เนื่องจากความเครียดที่ต้องทำงานคนเดียว แบบไม่มีเพื่อนร่วมงาน และต้องเร่งทำให้งาน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจบีบคั้น จึงก่อให้เกิดอาการเครียด สมองล้า (brain fog) และอาการปวดร้าว บริเวณ คอ บ่า ไหล่ และหลังซึ่งเป็นอาการเดียวกับ office syndrome แต่เนื่องจากเกิดจากการ work from home เราจึงอาจเรียกมันว่า “WFH syndrome” หรือ “WFH stress”


และเพื่อเป็นการดูแลตนเองระหว่างที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน ทางอัยย์ไทย จึงขออนุญาตนำข้อมูลบางส่วนจาก นพ.สุดหล้า ปรีชานนท์ แพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ มาแบ่งปัน

การ Work from Home ให้ปลอดภัยจากอาการ Office Syndrome


หลักการในการแก้ไข 1. ควรปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีความกระชับมากขึ้น มีการเว้นช่วงพักเพื่อจะได้ลุกขึ้น หรือปรับเปลี่ยนอริยาบท เช่น ในการประชุมต่างๆควรมีช่วงเวลาพักระหว่างการประชุมมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ประชุมสามารถทำกิจกรรมอื่นๆในบ้านได้ หรือควรถึงจำกัดเวลาในการประชุมในแต่ละวันไม่ให้มากเกินไป 2. ควรปรับสภาพแวดล้อม และท่าทางการทำงานให้ถูกต้องตามหลัก “การยศาสตร์” อ่านว่า กา-ระ-ยะ-สาด (Ergonomics) 3. ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงจากการอยู่ในท่าเดิม หรือใช้งานนานๆ ทุกๆ 1/2-1 ชั่วโมง


หลักการยศาสตร์ (Ergonomics) ในการนั่งทำงาน 1. ศีรษะตั้งตรง หรือก้มเล็กน้อยทำมุม 10-15 องศา สายตาขนานกับพื้นและอยู่ระนาบเดียวกันกับขอบบนสุดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ 2. คอไม่เอียง ไปด้านใดด้านหนึ่ง 3. หลังชิดกับพนักพิง ไม่แอ่นหรือก้ม 4. สะโพกแนบกับมุมฉากของพนักเก้าอี้ ลงน้ำหนักที่สะโพกทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน 5. ข้อศอกวางแนบลำตัว หรือวางบนพนักวางแขน งอศอกทำมุมประมาณ 90 องศา 6. ข้อมือวางบนโต๊ะทำงาน ได้ในขณะที่ใช้ Computer 7. ต้นขาวางราบกับที่นั่ง 8. เข่างอทำมุม 90 องศา 9. เท้าวางราบกับพื้น ถ้าเท้าลอยจากพื้นให้นำวัสดุมารองได้ เช่น หมอนหนาๆ



นอกจากนี้การแก้ไขปัญหา WFH stress ยังสามารถทำได้โดยการใช้ Aromatherapy หรือสุคนธบำบัด เพื่อลดอาการเครียดของกล้ามเนื่้อ และสมอง


Aromatherapy หรือ สุคนธบำบัด จำเป็นที่จะต้องใช้ น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ (natural essential oil) ไม่ใช้ น้ำหอม (fragrance หรือ perfume) ทั่วไป เนื่องจากในน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ จะมีสารกลุ่ม Terpene ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดม จะส่งผลในการปรับสารสื่อประสาทเพื่อให้เกิดสมดุลได้ https://bit.ly/3sTApdy


53 views0 comments

Comments


bottom of page