top of page
Search

แค่ปวด คอ บ่าไหล่.... ทำไมร้าวไปถึงศีรษะ (1/2)

Updated: Oct 20, 2021

ปวดบ่า ทาง “หัตถเวชกรรมไทย” ถือเป็นโรคลมชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลมปลายปัตฆาต ทำให้กล้ามเนื้อบ่าแข็ง เกร็ง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความเครียด กล้ามเนื้อทำงานหนัก และต้องเกร็งค้างอยู่นานๆ ท่าทางอิริยาบถการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้องหรือ พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตและ ลม ไม่สะดวก

โรคลมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ลมปลายปัตฆาต" ทำให้กล้ามเนื้อบ่าแข็ง เกร็ง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความเครียด กล้ามเนื้อทำงานหนัก และต้องเกร็งค้างอยู่นานๆ


อาการโดยทั่วไปที่พบ...

ปวดตึงคอ กล้ามเนื้อบ่า และสะบัก อาจพบอาการปวดร้าว (refered pain) แขนด้านนอกและนิ้วมือ

หายใจไม่เต็มที่ ขัดยอกหน้าอก บางรายอาจมึนงง เวียนศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเวียนศีรษะข้างที่มีอาการ บางรายอาจ มี คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาจพบอาการร้าว และชา มาที่แขนด้านในอาจคลำพบจุดกดเจ็บ

อาจพบอาการปวดร้าว (refered pain) ขาแขนด้านนอก บางรายอาจมึนงง เวียนศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเวียนศีรษะข้างที่มีอาการ


การดูแลและบำบัด

ควรเข้ารับการบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือในช่วงการระบาดของโควิด-19 จึงอาจใช้การบริหารร่างกายตัวยตนเองเช่น ควรทำท่าบริหารกล้ามเนื้อบ่า ต้นคอและสะบักร่วมด้วย เช่นท่าก้มเงยศีรษะ ท่าเอียงศีรษะซ้ายขวา พร้อมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้เกิดโรค หรืออิริยาบถเดิมๆ เช่น นั่งทำงานหน้าคอมนานๆการก้มหน้าเล่น มือถือ เป็นเวลานานๆ หรือการยกของหนักมากๆ

ควรเข้ารับการบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ และควรหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้เกิดโรค หรืออิริยาบถเดิมๆ


การรักษาด้วยการนวด

หนึ่งในวิธีการรักษาคือการนวดไทยพื้นฐานและสัญญาณหลักเพื่อเพิ่มสมดุลของกล้ามเนื้อ ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและการยืดเหยียดของกล้ามเนื้อ


การนวดร่วมกับ การใช้เจลนวดนวัตกรรม ลูกประคบไทย เข้าช่วยผ่อนคลาย การเคลื่อนไหว จะสะดวกขึ้น ลดการปวด การอักเสบ และการเกร็ง



เจลนวดนวัตกรรม ลูกประคบไทย ช่วยผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวจะสะดวกขึ้น ลดการปวด การอักเสบ และการเกร็ง



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เจลอโรม่าเธอราพี เจลนวัตกรรมลูกประคบไทยได้ที่ https://lin.ee/1RmNKGR


#เจลอโรม่าเธอราพี #เจลนวัตกรรมลูกประคบไทย #เย็นเบาสบายคอบ่าไหล่ #อัยย์ไทย #เนเชอรัล #ไพล #ขมิ้นชัน #ลูกประคบไทย #แพทย์แผนไทย


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

1.กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือการตรวจรักษาโรค การแพทย์แผนไทยประยุกต์, หน้า 115-117,หน้า 119-121

2.กรมแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่ 3 กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย, หน้า 25-30,หน้า 44-46

155 views0 comments

Comments


bottom of page