top of page
Search

แค่ ปวด คอ บ่าไหล่..... ทำไม ร้าว ไปถึงศีรษะ (2/2)

Updated: Oct 20, 2021

“ลมตะกัง” หรือ “ลมปะกัง” หรือ “ปวดศีรษะ ไมเกรน” เป็นโรคลมอีกชนิดหนึ่งทำให้มีอาการ ปวดศีรษะ ส่วนใหญ่มักปวดศีรษะข้างเดียว


“ลมตะกัง” หรือ “ลมปะกัง” หรือ “ปวดศีรษะ ไมเกรน” เป็นโรคลมอีกชนิดหนึ่งทำให้มีอาการ ปวดศีรษะ ส่วนใหญ่มักปวดข้างเดียว และอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่น ปวดร้าวกระบอกตา ตาลาย คลื่นไส้ อาเจียน

สาเหตุอาจเกิดจากการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมองได้ไม่สะดวก (วาตะสมุฏฐาน) ซึ่งอาจเกิดจากการทำงาน เกินกำลัง อิริยาบถ ท่านั่ง การใช้ท่าทาง ไม่ถูกต้อง หรือการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ การเพ่งสายตามากเกินไป ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อคอและบ่าเกิดการเกร็งตัว ดังนั้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้น เช่นการกระทบร้อน-เย็น อาหารบางชนิด หรือในช่วงมีประจำเดือนจะทำให้เกิดอาการปวดไมเกรนกำเริบได้



การอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ การเพ่งสายตามากเกินไป ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อคอและบ่าเกิดการเกร็งตัว อาจทำให้เกิดอาการปวดไมเกรนกำเริบได้


อาการ

มีอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือปวดทั้งสองข้าง ปวดขมับ ปวดเบ้าตา ปวดกระบอกตา อาการปวดเป็นแบบตุ๊บๆตามจังหวะชีพจร ปวดปานกลางถึง รุนแรง อาการจะมากขึ้นหากมีการเคลื่อนไหวหรือออกแรง และทำให้ หน้าแดง ตาพร่า ตามัว เห็นแสงระยิบระยับ อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย จนถึงวิงเวียนอย่างหนัก และเป็นลม

ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดขมับ ปวดเบ้าตา ปวดกระบอกตา ปวดแบบตุ๊บๆตามจังหวะชีพจร



การบำบัดรักษา

สามารถเลือกใช้ยาตามตำรับแพทย์แผนไทยในกลุ่มยาหอม ร่วมกับการนวดพื้นฐาน บริเวณขมับ คอ บ่าไหล่า และต้องพักผ่อน ให้เพียงพอ หลีกเลี่ยง ปัจจัยที่ทำให้ปวดศีรษะ เช่น ความเครียดการสัมผัสความร้อน-เย็น หรือแสงแดดจ้า รวมถึงการทำงานในอิริยาบทเดิมๆเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการขยับ หรือยืดเหยียด





นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เจลกลิ่นอโรม่าจากน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ 100% ทาถู นวดเบาๆ บิรเวณคอ บ่า ไหล่ และ ขมับ เพื่อให้เเลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น นอกจากนี้การสูดดมอโรม่า จากน้ำมันหอมระเหยสามารถช่วยให้ผ่อนคลายได้ดี




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เจลอโรม่าเธอราพี เจลนวัตกรรมลูกประคบไทยได้ที่ https://lin.ee/1RmNKGR





แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

1.กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือการตรวจรักษาโรค การแพทย์แผนไทยประยุกต์, หน้า 115-117,หน้า 119-121

2.กรมแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่ 3 กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย, หน้า 25-30,หน้า 44-46

bottom of page