"รมไอน้ำยา" (steam medicine) ตามหลักเภสัชกรรมแผนไทย
การสูดดมไอน้ำนี้ มีหลักการจากวิธีรมไอน้ำยา (steam medicine) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 28 วิธีการปรุงยา ตามหลักเภสัชกรรมแผนไทย เพื่อบำบัดรักษา ส่งเสริมสุขภาพ โดยเลือกสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย ทั้ง สด หรือ แห้ง แต่ถ้าเป็นชนิดแห้ง จะให้กลิ่นน้อยกว่าสมุนไพรสด
นำมาต้มในน้ำเดือด หรือ นำมาใส่ในน้ำร้อนจัดๆ เพื่อให้เป็นไอระเหย แล้วสูดหายใจเอาไอน้ำเข้าทางจมูกและปาก เพื่อช่วยให้การหายใจโล่งดีขึ้น แก้คัดจมูก ช่วยขับเสมหะและน้ำมูกออกจากทางเดินหายใจ
รวมถึงช่วยให้รู้สึกสดชื่น คลายความเครียดได้ โดยสมุนไพรที่มีการแนะนำให้ใช้ได้แก่ ตะไคร้ หอมแดง กระเพรา มะนาว มะกรูด สะระแหน่ สมุนไพรเครื่องต้มยำ เป็นต้น
หายใจโล่งดีขึ้น แก้คัดจมูก ช่วยขับเสมหะ และน้ำมูก ช่วยให้รู้สึกสดชื่น คลายความเครียดได้
วิธีเตรียมสมุนไพรเพื่อรมไอน้ำยา
ล้างสมุนไพรให้สะอาด แล้วหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ
ใส่ลงในหม้อต้ม หรือเติมน้ำร้อนจัด
นั่งก้มหน้าใช้ผ้าขนหนูคลุม และสูดไอระเหยของสมุนไพรเข้า-ออกช้าๆ ประมาณ 3-5 นาทีต่อรอบ
ควรหลับตาให้สนิทเพื่อไม่ให้แสบตา
ไม่ควรใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้สูง วิงเวียนศีรษะ เพราะอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด และ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรระมัดระวังให้มาก
ถ้าการต้มสมุนไพร เป็นเรืื่องที่ลำบากสำหรับบางคน เลือกใช้น้ำมันหอมระเหยก็จะสะดวกมากขึ้น อาจเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยสมุนไพรสูตรผสม เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเตรียมและใช้รมไอน้ำยา ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือช่วงระหว่างการเดินทาง
ง่ายและ สะดวกยิ่งขึ้น ในการ "เยียวยา" ระบบทางเดินหายใจน้ำมันหอมระเหย "สูตรผสม" สเตรสอีส อโรม่าดรอป
น้ำมันหอมระเหย "สูตรผสม" จากสมุนไพร ได้แก่ เลม่อนกราส เปเปอร์มิ้นต์ และ ทีทรี เตรียมขึ้นจากคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหย ในการฆ่าเชื้อ การสร้าง ความสดชื่น และการทำให้จมูกโล่ง
ให้กลิ่นชัดเจนของสมุนไพรธรรมชาติ (herbaceous) เย็นสดชื่น ปลอดโปร่ง โล่งเบา (fresh and light) สัมผัสได้ถึงความรู้สึกกลิ่นสะอาด เหมือนอากาศยามเช้า
วิธีใช้
หยด 2-4 หยด ลงในถ้วยน้ำร้อน ประมาณครึ่งแก้ว ใช้มือป้องทำเป็นช่องผ่านของไอน้ำ หลับตาและสูดไอระเหยอย่างช้าๆประมาณ 3-5 นาที วันละ 1-2 ครั้ง
หยด 2-4 หยด หรือมากกว่า (ขี้นกับขนาดของห้อง) ลงในเครื่องพ่นไอน้ำ (diffusor) เพื่อช่วยปรับอากาศในห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น หรือห้องนอน
หยด 2-4 หยด ลงบนผ้าเช็ดหน้า หรือหน้ากาก หลังหยด ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาทีให้เจือจาง แล้วจึงสวมหน้ากาก หรือสูดดม ใช้ได้บ่อยตามต้องการ
ไม่ควรนำน้ำมันหอมระเหยมาทาโดยตรงที่ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณใกล้จมูก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยมีความเข้มข้นสูง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนังได้
เอกสารอ้างอิง
1.The complete guide to aromatherapy 2nd edition, Salvatore Battaglia
2.คู่มือการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และสมุนไพร, รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร, จัดทำครั้งที่2, 12พค64
3.น้ำมันหอมระเหย และการใช้ในสุคนธบำบัด, ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ, พิมพ์ครั้งที่2 (แก้ไขเพิ่มเติม)
Comments