top of page
Search

หมด"ฝน" ... "หนาว"มา ............. ผิว "แห้ง คัน"

Updated: Oct 18, 2021

ผิวแห้งเกิดจาก ภาวะที่ระดับน้ำในชั้นใต้ผิวลดลง ซึ่งโดยปกติผิวหนังจะดูสดใสเต่งตึง เพราะมีส่วนประกอบของน้ำ น้ำมัน และสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ น้ำเป็นส่วนประกอบที่มากที่สุดของเซลผิวหนัง น้ำมันจากต่อมไขมันทำหน้าที่เคลือบผิวเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ส่วนสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติจะช่วยคงน้ำไว้ให้อยู่กับผิวหนัง

แต่ถ้าระดับน้ำในชั้นใต้ผิวลดลง ก็จะส่งผลให้ผิวแห้งกร้าน แตกเป็นขุย คัน และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เราสามารถป้องกันและแก้ไขได้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้


การใช้ชีวิตประจำวันมีผลต่ออาการผิวแห้ง แตก ลอก คัน ไม่ว่าจะเป็นสภาวะแวดล้อม เช่น แสงแดด อากาศร้อน หนาว และมลภาวะต่างๆ

1. ตัวเลขอายุ ไม่ปราณีผิว อายุมากขึ้น ต่อมไขมันทำงานลดลงทำให้ขาดน้ำมันเคลือบผิว จึงไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ ต้องหาตัวช่วยเช่น การทาโลชั่นเพื่อสร้างเกราะให้กับผิว

2. การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ เราปรับเปลี่ยนไม่ได้ และไม่ปราณีผิวเช่นกัน สภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น แสงแดด อากาศร้อนหนาว มลภาวะต่างๆ รวมถึงความชื้นในอากาศ และห้องปรับอากาศ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงและปกป้องผิว

3. ที่ปรับเปลี่ยนได้ คือ การดูแลผิวอย่างไม่ถูกต้อง เช่นการใช้สบู่ที่มีค่าความเป็นด่างสูง โดยเฉพาะสบู่ก้อนจากขบวนการเกิดสบู่ (saponification) สบู่กลุ่มนี้ ถึงแม้จะเป็นสบู่จากน้ำมันธรรมชาติ แต่มีความเป็นด่างสูงมาก (pH 9-10) ถึงแม้จะชำระล้างคราบเหงื่อไคลได้ดี แต่จะทำให้ผิวแห้งมาก

สบู่ที่ได้จากขบวนการ saponification ถึงแม้จะเป็นสบู่จากน้ำมันธรรมชาติ แต่มีความเป็นด่างสูงมาก (pH 9-10)

การใช้สครับจากเกลือ น้ำตาล เม็ดขัดจากเกลือและน้ำตาลมีความคม ทำใหบาดผิว ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งอยู่แล้ว และถ้าใช้บ่อยเกินความจำเป็น จะทำให้ผิวแห้งมากหลังการสครับ และในช่วงการระบาดของ โควิด-19 การใช้แอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดผิวและฆ่าเชื้ออาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผิวแห้ง แตกได้ จึงควรดูแล และปกป้องผิวด้วยโลชั่น เพื่อเป็นการเพิ่มเกราะให้กับผิว


ปัจจัยอื่นๆที่อาจมีผลต่อสภาพผิวแห้ง ได้แก่
  • การใช้ยาบางชนิดเช่น ยาทาสิว เช่นกลุ่ม เบนซอยล์ เปอร์ออกไซด์ หรือ กลุ่มวิตามินเอ หรือยาขับปัสสาวะ ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้มักให้ผิวแห้ง ไม่ว่าจะใช้กับผิวหน้า หรือส่วนอื่นๆของร่างกายเช่น หน้าอก หรือแผ่นหลัง เพื่อไม่ให้ผิวแห้งมากขึ้นควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน และช่วยผิวสร้างชั้นไขมันปกป้องด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุง

  • เกิดจากโรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคผื่นแพ้ (Eczema) โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคต่อมไทรอยด์ผิดปกติ (Hypothyroidism) อาการของโรคจะทำให้เกิดผิวแห้ง เป็นสะเก็ด ลอกเป็นขุย สำหรับผู้ที่ประสบหัญหาเหล่านี้ อาจต้องใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ และการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์จะทำให้ชั้นผิวบางลง และสูญเสียความสามารถในการปกป้องการระเหยของน้ำจากเซลผิว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ครีม หรือโลชั่นบำรุง

  • ภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition) ซึ่งทำให้เซลผิวหนังขาดวิตามิน และกรดไขมัน จำเป็นบางชนิด ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะการขาดสารอาหารสำหรับเซลผิว

ถ้าต้องอยู่ในห้องที่ปรับอากาศให้เย็นตลอดเวลา เช่น สำนักงาน หรือ ห้องนอนควรทาโลชั่นให้บ่อยขึ้นเมื่อรู้สึกว่าผิวแห้งคัน

4 วิธี ดูแลผิวง่ายๆให้สวย สดใส เต่งตึง


1. ควรเลือกใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว เนื่องจากผิวกายมีค่าความเป็น กรด-ด่าง (pH) ที่ 5-6.5 เป็นกรดอ่อนๆ จึงไม่ควรใช้สบู่ที่่มีความเป็นด่างมากเกินไปเพราะสบู่ที่เป็นด่างมากจะไปชำระล้างชั้นไขมันตามธรรมชาติที่ร่างกายผลิต ออกทำให้ผิวแห้ง ควรเลือกสบูในกลุ่มที่ให้ความชุ่มชื้น เช่นสบู่กลิเซอริน หรือสบู่เหลวบางชนิดที่ระบุว่า pH Balance เป็นต้น



2. ในช่วงฤดูหนาว หรือ ถ้าต้องอยู่ในห้องทีมีการปรับอากาศให้เย็นตลอดเวลา เช่นในอาคารสำนักงาน ควรทาโลชั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปกป้องการสูญเสียความชุ่มชื้นออกจากผิว ถ้ามีอาการผิวแห้งมากควรเลือกโลชั่นที่เข้มข้น มีปริมาณ น้ำมัน หรือบัตเทอร์มาก ควรหลีกเลี่ยงโลชั่นที่มีปริมาณน้ำหอมฉุน เนื่องจากน้ำหอมอาจทำให้เกิดการแพ้ได้




3. ถ้าเป็นไปได้ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที "อากาศที่เย็น" หรือแห้งเกินไป เช่นในห้องแอร์ และพยายามหลีกเลี่ยง "การอาบน้ำที่ร้อนเกินไป"



4. ดื่มน้ำให้พอเพียง ประมาณวันละ 8 แก้ว เพราะความจริงแล้ว ปริมาณน้ำในเซลผิว ไม่สามารถที่จะเติมได้จากภายนอก ต้องอาศัยการดื่มน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเซลผิว เพราะตามธรรมชาติแล้วไม่สามารถเติมน้ำให้กับเซลผิวได้จากภายนอก จึงต้องดื่มน้ำเพื่อความชุ่มชื้นของผิวจากภายใน






เพราะไม่สามารถที่จะเติมได้จากภายนอก จึงต้องอาศัยการดื่มน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเซลผิว

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ https://lin.ee/1RmNKGR

หรือที่ เฟสบุ๊ก แฟนเพจ https://www.facebook.com/ithaiskincare

3 views0 comments
bottom of page